Top

คำตอบของคำถามยอดฮิต


bsd.cbs.chula.ac.th
1. หลักสูตร BSD แตกต่างจากหลักสูตร MIS อย่างไร ?
คำตอบ

แตกต่างตรงที่หลักสูตร BSD เน้นกระบวนการทั้งหมดของการได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ (Software Engineering) แต่หลักสูตร MIS เน้นการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ คือการนำซอฟต์แวร์ไปประยุกต์ใช้ในภาพรวม

2. อยากทราบแนวทางการเรียนการสอน ?
คำตอบ

การเรียนการสอน เน้นให้นิสิตค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ผู้สอนคอยให้คำปรึกษา และดูแลอย่างใกล้ชิด การมอบหมายงานส่วนใหญ่จะเป็นงานกลุ่ม ทำให้นิสิตได้ฝึกฝนทางด้านวิชาการ และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน

3. ต้องแต่งกายอย่างไร?
คำตอบ

ควรแต่งการให้สุภาพ สวมเสื้อมีปก สวมรองเท้าหุ้มส้น ไม่ว่าจะเป็นวันสอบ หรือวันที่จะต้องมาติดต่อกับทางมหาวิทยาลัย สอบได้แล้วเวลามาเรียนก็ต้องแต่งกายสุภาพ ไม่ว่าจะเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุด

4. มีข้อกำหนดในการทำข้อสอบอย่างไรบ้าง ?
คำตอบ

มีเวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง จะเลือกทำชุดไหนก่อนหลังก็ได้ ตามแต่ถนัด แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องทำข้อสอบให้ครบทุกชุด มิฉะนั้นจะไม่ได้รับพิจารณาในการตรวจกระดาษคำตอบทั้งหมด

5. ต้องนำอุปกรณ์อะไรบ้างมาในวันสอบ ?
คำตอบ

ควรเตรียม ปากกา ดินสอ 2B ยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด และไม้บรรทัดมาให้พร้อม และควรสำรองเครื่องเขียนไว้ด้วยก็จะเป็นการดีนะ แล้วอย่าลืมบัตรเข้าห้องสอบ และบัตรประชาชนมาแสดงในวันสอบด้วย

*** ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น อาจจะปรับการสอบเป็นรูปแบบออนไลน์ ***

6. สอบข้อเขียน ยากไหม ออกวิชาอะไรบ้าง เป็นอัตนัย หรือปรนัย ?
คำตอบ

สอบข้อเขียน 4 วิชา ได้แก่

  1. ตรรกการโปรแกรม (Algorithm)
    เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการเขียนและออกแบบตรรกะโปรแกรมเบื้องต้น เช่น loop และ condition การประยุกต์ตรรกะโปรแกรมกับเงื่อนไขทางธุรกิจ

  2. การวิเคราะห์เชิงระบบ (System Analysis)
    เพื่อทดสอบความคิดในเชิงของการวิเคราะห์ออกแบบงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการหรือการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ

  3. ฐานข้อมูล (Database)
    เพื่อทดสอบการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลที่สอดคล้องกันกับระบบงานที่วิเคราะห์ออกแบบ ควรมีพื้นฐานในการเขียน ER Diagram หรือ Class Diagram 

  4. โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
    มักจะมีความสับสนกับ database ในส่วนนี้ทดสอบอัลกรอรึธึมที่ใช้ในการจัดการ data ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของ data science ในปัจจุบัน อาทิ  stack, queue, hash table, priority queue, binary search tree, graph และ string เป็นต้น

 

7. ต้องมีผลคะแนน CU-TEP เท่าไหร่จึงจะสมัครได้ ?
คำตอบ

 

ข้อกำหนดการสมัคร ผู้มีสิทธิ์สมัครจะต้องมีผลทดสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP ที่ยังไม่หมดอายุ มายื่นประกอบการสมัคร โดยกำหนดให้มีผลคะแนนไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน  และจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 45 คะแนน ก่อนการสำเร็จการศึกษา
ดูรายละเอียด และปฏิทินการสอบ CU-TEP ได้ที่ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.atc.chula.ac.th

 

** ทั้งนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทางหลักสูตรฯ จึงอนุโลมให้สมัครสอบได้โดยยังไม่ต้องมีผลคะแนนสอบ CU-TEP แต่กรณีที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องส่งผลคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนดภายในเทอมแรกของการศึกษา (ธันวาคม 2564) **

8. ปัจจุบันทำงานด้านคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้เป็นโปรแกรมเมอร์ จะศึกษาในหลักสูตรนี้ได้หรือไม่ ?
คำตอบ

เรียนได้นะ เพราะว่าหลักสูตรนี้ไม่ได้สอนเขียนโปรแกรม หลักสูตรนี้เน้นไปที่กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ตอบสนองต่อธุรกิจ หลักสูตรนี้จึงเหมาะสำหรับทุกตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารโครงการ นักวิเคราะห์ออกแบบระบบ หรือ โปรแกรมเมอร์

9. ถ้าไม่ได้เรียนจบ ป.ตรี ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สามารถสมัครเรียนได้หรือไม่ ?
คำตอบ

สมัครได้ ถ้าได้ศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต แต่ภาคนอกเวลาราชการ ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี จนถึงวันปิดรับสมัครด้วยนะ กรณีไม่แน่ใจให้ส่ง transcript มาให้ทางหลักสูตรช่วยพิจารณาเบื้องต้นทางอีเมล ถึง รศ.ดร.อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์ 

Subject: ขอพิจารณาคุณสมบัติการศึกษา


To: assadaporn@cbs.chula.ac.th

Cc: somporn@cbs.chula.ac.th, BSDChulaAdmission@gmail.com

 

10. เลือกเรียนแผน ก (วิทยานิพนธ์ ) หรือ แผน ข (โครงการพิเศษและสอบประมวลความรู้) ดี ?
คำตอบ

สำหรับผู้ที่สอบผ่าน กรณียังไม่มีประสบการณ์ทำงานหรือมีน้อยกว่า 1 ปี เช่น เป็นนิสิตเพิ่งสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นต้น จะต้องศึกษาในแผนการศึกษา ก เท่านั้น แต่ในกรณีมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 1 ปี สามารถเลือกเรียนได้ทั้งแผนการศึกษา ก และ ข

Page   1  2